เมนู

แก้ว่า เหมือนอย่างว่าในอริยมรรคที่ 3 ท่านกล่าวการละไว้อย่างนี้ว่า
เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง 2 มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น แม้นที่ยังละไม่ได้
ย่อมเป็นการกล่าวสรรเสริญ (อริยมรรคที่ 3) เพื่อจะให้เกิดความอุตสาหะ
แก่เหล่าชนผู้มีความขวนขวาย เพื่อบรรลุอริยมรรคที่ 3 นั้น ฉันใด, ใน
ตติยฌานนี้ ท่านกล่าวความสงบระงับวิตกวิจาร แม้ที่ยังไม่สงบราบคาบไว้
เป็นการกล่าวสรรเสริญ (ฌานนี้) ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวใจความนี้ไว้ว่า เพราะก้าวล่วงปีติ และเพราะความสงบระงับวิตกวิจาร
ดังนี้.
ในคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหาสึ นี้ มีวินิจฉันดังนี้ :- ธรรมชาติ
ที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า เพ่งโดยอุบัติ. อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอ
คือย่อมเห็นไม่ตกไปเป็นฝักเป็นฝ่าย. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ท่าน
เรียกว่า ผู้มีอุเบกขา. เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น อันสละสลวย
ไพบูลย์ มีกำลัง

[อุเบกขา 10 อย่าง]


ก็อุเบกขามีอยู่ 10 อย่าง คือ
1. ฉฬังคุเปกขา อุเบกขาในองค์ (คืออารมณ์) 6.
2. พรหมวิหารรุเปกขา อุเบกขาในพรหมวิหาร.
3. โพชฌังคุเปกขา อุเบกขาในโพชฌงค์.
4. วิริยุเปกขา อุเบกขาในวิริยะ.
5. สังขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร.
6. เวทนุเปกขา อุเบกขาในเวทนา.